เมนู

[1257] 7. เนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เสกข-
ธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค, โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค
อนุโลม เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่เป็นเสกขธรรม.
เนวสัญญานาสัญญายตนกุศลของบุคคลผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่
ผลสมาบัติที่เป็นเสกขธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
[1258] 8. เนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่อเสกข-
ธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

คือ อนุโลม เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่เป็นอเสกขธรรม.
เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยาของบุคคลผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่
ผลสมาบัติที่เป็นอเสกขธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

5. สมนันตรปัจจัย


[1259] เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เสกขธรรม ด้วยอำนาจ
ของสมนันตรปัจจัย เหมือนกับอนันตรปัจจัย มี 8 วาระ.


6. สหชาตปัจจัย 7. อัญญมัญญปัจจัย


[1260] เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เสกขธรรม ด้วยอำนาจ
ของสหชาติปัจจัย เหมือนกับสหชาตปัจจัยในปฏิจจวาระ มี 8 วาระ.

อัญญมัญญปัจจัย เหมือนกับอัญญมัญญปัจจัย ในปฏิจจวาระ
มี 3 วาระ.

8. นิสสยปัจจัย


เหมือนกับนิสสยปัจจัย ในกุสลติกะ มี 13 วาระ.

9. อุปนิสสยปัจจัย


[1261] 1. เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เสกขธรรม ด้วยอำนาจ
ของอุปนิสสยปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
ปฐมมรรค เป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรค ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
ทุติยมรรค เป็นปัจจัยแก่ตติยมรรค ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
ตติยมรรค เป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรค ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
มรรค เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่เป็นเสกขธรรม ด้วยอำนาจของ
อุปนิสสยปัจจัย.
[1262] 2. เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่อเสกขธรรม ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 2 อย่าง คือ ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
มรรค เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่เป็นอเสกขธรรม ด้วยอำนาจของ
อุปนิสสยปัจจัย.